โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพศิรินทราวาส ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

















พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนา "มหาวชิรมงกุฎ" เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ในตระกูลมงกุฎสยาม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑
ดวงตราและดาราจุลสุราภรณ์
พ.ศ. ๒๔๑๒
ดวงตรา
และดารามหาสุราภรณ์
พ.ศ. ๒๔๑๒
ดวงตราภัทรภรณ์ พ.ศ. ๑๔๑๒


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า "...เมื่อได้ทรงสถาปนาตราช้างเผือกสนองพระเดชพระคุณสมเด็จพระบรมชนกนาถพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว...ควรจะมีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในรัชกาลพระองคด้วยอีกอย่างหนึ่งให้เชิดชูเกียรติบ้านเมือง จึงโปรดให้ตรามงกุฎสยามขึ้น...." สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และผู้มีความชอบในราชการมากน้อยตามสมควร ทั้งเพื่อใช้ประดับในงานพระราชพิธีและในงานพิธีมงคล ทั้งที่เป็นงานของหลวงและราษฏร เป็นเครื่องเชิดชูพระเกียรติยศ และเป็นแบบอย่างธรรมเนียมอันดีงามของบ้านเมือง
เมื่อแรกสร้างใน พ.ศ. ๒๔๑๒ เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎสยามมีเพียง ๓ ชั้น ได้แก่ มหาสุราภรณ์ จุลสุราภรณ์ และภัทราภรณ์ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๑๖ โปรดเกล้า ฯ ให้เพิ่มอีก ๒ ชั้น คือ มัณฑนาภรณ์ และวิจิตราภรณ์ และเปลี่ยนดวงตราห้อยสายสะพายมหาสุราภรณ์และจุลสุราภรณ์ซึ่งเดิมสลักโปร่งเป็นตัวอักษร มีช้างทรงเครื่องยืนแท่นอยู่ข้างล่าง เป็นดวงตาทรงกลมมีรูปพระจุลมงกุฎอยู่บนพารอง มีเครืองสูงสองข้างแวดล้อมด้วยแฉกกลีบบัว ๒ ชั้น

รูปจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎสยามที่ประดับบนเพดานพระอุโบสถประกอบด้วยดวงตรา ดาราสายสะพายและสายสร้อยมหาสุราภรณ์ ดารา ดวงตราและแพรแถบจุลสุราภรร์ ดวงตราและแพรแถบมัณฑณาภรณ์ ดวงตรา และแพรแถบภัทราภรณ์ ดวงตรา และแพรแถบวิจิตราภรณ์ พ.ศ. ๒๔๑๖