top of page

ลักษณะเด่นของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าได้แก่การเชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมาประดับที่ดวงตรา

ดารา ดวงตรา

และสายสะพาย

ปฐมจุลจอมเกล้า (ฝ่ายใน)

ดวงตราทุติยจุลจอมเกล้าและแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ

ดวงตราตติยจุลจอมเกล้าและแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ

ดวงตราจตุตถจจอมเกล้าและแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ

​         หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงเห็นว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงอยู่ในราชสมบัติยั่งยืนมาเป็นเวลา ๙๐ ปี ก็ด้วยความภักดีและการปฏิบัติหน้าที่ของพระราชวงศ์และข้าราชการ ทั้งมีพระราชประสงค์จะทรงชุบเลี้ยงทายาทของบุคคลเหล่านี้ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบไป จึงมรพระราชดำริที่จะสร้างเครื่องหมายอันเป็นเกียรติในนามของพระองค์ เป็นเครื่องตอบแทนควมดี โดยพระราชทานนาม จุลจอมเกล้า เป็นนามของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ พร้อมพระราชทานคำขวัญจารึกบนดวงตราว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ"

​         เมื่อแรกสถาปนา มีพระราชบัญญัติกำหนดแบ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเป็น ๓ ชั้น ๕ ชนิด ได้แก่

                       ชั้นที่ ๑ ปฐมจุลจอมเกล้า

                       ชั้นที่ ๒ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษและทุติยจุลจอมเกล้า

                       ชั้นที ๓ ตติยจุลจอมเกล้าและตติยานุจุลจอมเกล้า

สำหรับพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางฝ่ายหน้า ตลอดจนทายาทที่เป็นบุรุษ เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าสำหรับฝ่ายใน  ๔ ชั้น (ปฐมจุลจอมเกล้า ทุติยจลจอมเกล้า ตติยจุลจอมเกล้า จตุตถจุลจอมเกล้า) ภายหลังโปรดเกล้า ฯ ให้เพิ่มชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายใน เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๒ และปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายหน้า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาชั้นที่ ๓ ขึ้นเป็นพิเศษ เรียกว่า ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

รูปจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าที่ประดับอยู่บนเพดานพระอุโบสถประกอบด้วย ดารา ดวงตรา สายสร้อย และสายสะพายปฐมจุลจอมเกล้า แพรแถบและควงตราทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ และตติยจุลจอมเกล้า

bottom of page