โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพศิรินทราวาส ในพระบรมราชูปถัมภ์ เนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปี แห่งการสวรรคตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
















พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปร่วมกับ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงฉายพระรูปร่วมกับ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖ เป็นพระราชโอรสใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อครั้งที่ดำรงพระยศพระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาร่วมพระบรมราชชนนีรวม ๓ พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงติดตามและเฝ้าประทับเคียงข้างพระบรมราชชนนี
มิได้ห่าง ดังปรากฎเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความใกล้ชิดผูกพันระหว่างพระองค์กับพระบรมราชชนนี ในพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมชนกนาถ คราวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ ดังความตอนหนึ่งว่า
"...ลูกเมียและคนทั้งปวงที่มาด้วยก็สบายอยู่หมดทุกคน ทูลพระองค์ลม่อมให้ทราบด้วยว่าฟ้าชายฟ้าหญิงกับรำเพยสบายดีแม่พาลูกทั้งเล็กทั้งใหญ่ไปเที่ยวหลายแห่ง..."

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ครั้งดำรงพระยศ
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระชัษา ๑๒ ปี ทรงฉายพระรูป
ร่วมกับพระอนุชา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี พระชันษา ๘ ปี
และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ พระชันษา ๖ ปี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘
แต่หลังจากสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีมีพระประสูติการพระราชโอรสพระองค์เล็กก็ทรงพระประชวรเรื่อยมาและเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๔ ก่อนที่จะถึงวันคล้ายวันประสูติของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ซึ่งจะพระชนมายุครบ ๘ พรรษา อีกเพีลง ๑๑ วัน จึงนับเป็นช่วงเวลาแห่งความเศร้าสลดพระทัยที่พระบรมราชชนนีเสด็จสู่วรรคาลัย โดยมิได้ทรงร่วมฉลองในวาระอันสำคัญเช่นนี้
ด้วยทรงห่วงใยพระราชโอรสธิดาที่เป็นกำพร้าตั้งแต่ทรงพระเยาว์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์พร้อมด้วยพระขนิษฐาและพระอนุชามาอยู่ในพระอภิบาลของ พระองค์ลม่อม หรือพระองค์เจ้าลม่อม พระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกับพระบิดาของสมเด็จพระเทพศิรินทราวาส ซึ่งได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงเลี้ยงดูพระนัดดาทั้ง ๔ ซึ่งเจริญพระชันษาขึ้นเป็นลำดับ จนกระทั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เมื่อมีพระชนมายุได้ ๑๕ พรรษา
พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนา ณ ริมคลองผดุงกรุงเกษม เพื่อเป็นพระอนุสรณ์ถึงสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ผู้เป็นพระบรมราชชนนี
นอกจากนั้น ยังมีพระราชประสงค์ให้วัดเทพศิรินทราวาสเป็นพระอารามสำหรับประกอบการพระกุศลในบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์สืบสายมาแต่สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เพื่อเป็นการสมานสามัคคีในหมู่พระประยูรญาติ จึงมีการประดิษฐานปูชนียวัตถุสำคัญเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงพระบรมราชชนนี และมีปูชนียาคารที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอโปรดเกล้า ๆ ให้สร้างปรากฏสืบมา
วัดเทพศิรินทราวาส จึงเป็นพระอารามที่มีความหมายสำคัญต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นพุทธศาสนาที่น้อมใจ ให้ละรึกถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงสถิตมั่นในพระกตัญญูกตเวทีตาคุณต่อพระราชบุรพการี ซึ่งเป็นแบบอย่างอันดีที่ราษฎรผู้จงรัภักดีจะพึงยึดถือและปฏิบัติตามสืปไป


ภาพถ่ายวัดเทพศิรินท ราวาส ฝีมือนายคาร์ล ดอห์์ริง สถาปนิกชาวเยอรมัน
ซึ่งเดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙




ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่สถิตมั่นในพระราชกตัญญูกตเวทิตา ทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงพระกรุณาธิคุณของพระบรมราชชนนี ในปีแรกที่ทรงครองราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้เฉลิมพระเกียรติพระบรมราชชนนี โดยทรงสถาปนาพระอัฐิเป็นกรมสมเด็จพระเทพศิรนทรามาตย์ ด้วยมีพระราชดำริดังปรากฏในคำประกาศเฉลิมพระอิสริยยศระบรมราชชนนี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๑ ตอนหนึ่งว่า...
"...มีพระกระมลราชหฤทัย ประกอบไปด้วยพระกตัญญุตากตเวทิตา ระฦกถึงบุรพาธิการกิจสมเด็จพระราชชนนี ซึ่งมีมหันตคุณวราดิเรกอเนกประการ ด้วยทรงอภิบาลบำรุงรักษาตั้งแต่ดำรงพระครรภ์มา พร้อมด้วยพรหมาธิมุตธยาศรัย จำนงแต่ในความสุขสำราญและเหตุเป็นที่ตั้งความเจริญ...จึงทรงพระราชดำริด้วยวิบูลยปรีชา ว่าเหตุที่จะฉลองพระเดชพระคุณให้สมควรเป็นปัตโยปการิตาอย่างอื่นอย่างใดก็ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงทรงพระราชบัญญัติดำรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมให้สถาปนาเลื่อนพระนามพระอัฏฐิสมเด็จพระราชชนนี ซึ่งควรเป็นที่คารวสถานจิรกาลทิวงคตแล้วนั้น ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์โดยฐานันดรนามที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ตามบรรพโบราณราชจารีตสืบมา..."
นอกจากนี้ ในกาลต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีพระราชประสงค์ที่จะอุทิศพระราชกุศลสนองพระเดชพระคุณและเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชชนนี ด้วยการสถาปนาพระอาราม เป็นการสืบทอดธรรมเนียมการสร้างปูชนียสถานเพื่ออุทิศกุศลแก่พระราชบุรพการี ที่ถือปฏิบัติในหมู่พุทธศาสนิกชนสืบมา ตั้งแต่สมัยโบราณ

พระพุทธรูปฉลองพระองค์สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีภายในพระอุโบสถวัดเทพศิรินทราวาส