top of page

เครื่องราชอิสริยสภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์สำหรับฝ่ายใน ประกอบด้วยดารา ดวงตราและสายสะพาย

เครื่องราชอิสริยสภรณ์สำหรับราชตระกูล นพรัตนราชวราภรณ์ พ.ศ. ๒๔๑๒ ประกอบด้วย ดาราประดับพลอย ๙ ชนิด ที่แฉกรัศมีประดับเพชร มีสายสะพายสีเหลืองขลิบเขียว และมีดวงตราสลักโปร่งเป็นอักษรว่า นพรัตนราชวราภรณ์ มีพลอย ๙ ชนิด และมีรูปช้างด้านล่างสำหรับแขวนที่สายสะพาย

​         ตามหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับ "พระบรมวงษ์ ซึ่งเปนผู้ใหญ่ในราชตระกูล ฤาข้าราชการผู้ใหญ่ซึ่งมีเกียรติยศ" จึงนับเป็นเกียรติอย่างสูงสุดสำหรับผู้ได้รับพระราชทาน โดยนำเครื่องหมายที่ "ฝ่ายสยามนับถือว่าเปนมงคลอย่างใหญ่หลวง" คือ นพรัตน์มาดัดแปลงเป็นดารา สำหรับพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดิน

            แต่เดิมเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีเฉพาะ ดารานพรัตน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสำหรับทรงประดับฉลองพระองค์เป็นเครื่องต้นและพระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์เพื่อใช้ประดับที่เสื้อสำหรับแสดงยศอย่างสูง

การประดับลวดลายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บนเพดานพระอุโบสถ มีทั้งสิ้น ๕ ตระกูล ตั้งแต่เหนือปราสาทจตุรมุขประดิษฐานพระประธาน เป็นรูปจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ ประกอบด้วยดารานพรัตน์ พระมหาสังวาลนพรัตน สายสะพาย และดวงตามหานพรัตนสำหรับแขวนที่สายสะพาย หรือห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมงปอสำหรับฝ่ายใน

​         ต่อมาเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้สร้าง ดวงตรามหานพรัตน ใช้ห้อยกับแถบแพรสำหรับสะพายบ่า จากขวาลงมาซ้าย รวมทั้งสิ้น ๙ สำรับ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ ในวาระสมโภชศสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปีบริบูรณ์ จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติกำหนดให้มีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้ ๒๐ สำรับ แบ่งเป็นสำหรับพระมหากษัตริย์ ๑ สำรับ และพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์อีก ๑๙ สำรับ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้า ฯ ให้เพิ่มเป็น ๒๗ สำหรับ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖๗) สำหรับพระราชทานบรมวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่ซึเง้ป็นพุทธมามกะ เท่านั้น) มีเฉพาะชั้นสายสะพายชั้นเดียว แบ่งออกเป็นฝ่ายใน (สตรี) และฝ่ายหน้า (บุรุษ) ซึ่งจะได้รับพระราชทานแหวนนพรัตนเพิ่มเติม  สำหรับสวมนิ้วชี้ข้างขวา

bottom of page