top of page

ตราช้างเผือกสมัยรัชกาลที่ ๔

ดารา ดวงตรา และสายสะพาย

มหาวราภรณ์ พ.ศ. ๒๔๑๖

ดวงตราสำหรับห้อยสายสะพาน

และดารามหาวราภรณ์

พ.ศ. ๒๔๑๒

ดวงตราสำหรับห้อยสายสะพาย และดาราจุลวราภรณ์ พ.ศ. ๒๔๑๒

ดวงตรานิภาภรณ์และภูษณาภรณ์ พ.ศ. ๒๔๑๒

​         เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับส่งไปถวายตอบแทนพระเจ้าแผ่นดินต่างประเทศ พระราชทานพระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้มีความชอบยิ่งใหญ่ในแผ่นดิน รวมทั้งข้าราชการที่ไปราชการต่างประเทศ ชาวยุโรปและราชทูตที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับไทย จึงทรงเลือกใช้รูป ช้าง ด้วยชาวต่างชาติในสมัยนั้นส่วนใหญ่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าช้างเผือกเป็นเครื่องหมายของประเทศสยาม

​         อย่างไรก็ตามดาราช้างเผือกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บางดวงเป็นรูปเครื่องสูงลงยาราชาวดีประดับเพชร บางดวงไม่มีเครื่องสูง บางดวงเป็นรูปช้างเผือกประดับธงบนหลังช้าง

           ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้า ฯ ให้แก้ไขเพื่อให้มีเกียรติคุณไพศาลพิเศษยิ่งขึ้น โดยเปลี่ยนขอบดาราซึ่งเดิมเป็นรัศมี ๑๖ แถว มาเป็นรัศมีกลีบบัว และเปลี่ยนรูปพระมหามงกุฎมาเป็นรูปจุลมงกุฎ รวมทั้งทรงสร้างสายสะพายประกอบดาราช้างเผือก และแบ่งเป็น ๔ ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ ๑. มหาวราภรณ์ ชั้นที่ ๒ จุลวราภรณ์ ชั้นที่ ๓ นิภาภรณ์ และชั้นที่ ๔ ภูษณาภรณ์ เมื่อถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ ทรงแก้ตราเก่าเพิ่มชั้นที่ ๕ ทิพยากรณ์

รูปจำลองเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกที่ประดับบนเพดานพระอุโบสถประกอบด้วย ดารา ดวงตรา สายสร้อย และสายสะพายมหาวราภรณ ดวงตรา และแพรแถบคล้องคอนิภาภรณดวงตราและแพรแถบทิพยาภรณ์ พ.ศ. ๑๕๑๖

bottom of page